ตามคำบอกเล่าของท่านผู้เฒ่าผู้แก่ภายในท้องถิ่นตำบลคลองนกกระทุง ได้เล่าสืบกันมาถึงเรื่องราวของชื่อคลองนกกระทุงนี้ว่า
ในสมัยอดีตบริเวณที่เรียกว่า คลองนกกระทุงแห่งนี้เคยเป็นเพียงแหล่งหนองน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเพราะความที่บริเวณโดยรอบนี้
มีระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์เป็นเหตุให้มีนกอพยพมาจากที่ต่าง ๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานและพำนักมากมายรวมถึงฝูงนกกระทุง
อันเป็นที่มาของชื่อที่ชาวบ้านทั้งหลายใช้เรียกแหล่งน้ำบริเวณนี้ด้วย และภายหลังเมื่อระบบชลประทาน เข้ามามีบทบาทในการจัดสรรปันน้ำ
เพื่อการเกษตรกรรมให้กับชาวบ้านมากขึ้นทำให้จากหนองน้ำธรรมชาติ กลายเป็นคูคลอง ดังที่เห็นปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ข้อมูลหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนผู้ชาย | จำนวนผู้หญิง | รวมประชากร |
หมู่ที่ 1 บ้านใต้ปากคลองนกกระทุง | 47 ครัวเรือน | 78 คน | 70 คน | 148 คน |
หมู่ที่ 2 บ้านปากคลองนกกระทุง | 79 ครัวเรือน | 101 คน | 106 คน | 207 คน |
หมู่ที่ 3 บ้านแหลมไร่พัฒนา | 58 ครัวเรือน | 53 คน | 76 คน | 129 คน |
หมู่ที่ 4 บ้านบางวัว | 41 ครัวเรือน | 46 คน | 59 คน | 105 คน |
หมู่ที่ 5 บ้านบางวัว | 74 ครัวเรือน | 110 คน | 114 คน | 224 คน |
หมู่ที่ 6 บ้านหน้าโรงเจ | 101 ครัวเรือน | 54 คน | 74 คน | 128 คน |
หมู่ที่ 7 บ้านคลองนกกระทุง | 245 ครัวเรือน | 283 คน | 312 คน | 595 คน |
หมู่ที่ 8 บ้านคลองนกกระทุง | 148 ครัวเรือน | 189 คน | 204 คน | 393 คน |
หมู่ที่ 9 บ้านคลองบางภาษี | 529 ครัวเรือน | 399 คน | 441 คน | 840 คน |
หมู่ที่ 10 บ้านคลองบางภาษี | 188 ครัวเรือน | 321 คน | 317 คน | 638 คน |
หมู่ที่ 11 บ้านปากคลองบางภาษี | 91 ครัวเรือน | 101 คน | 95 คน | 196 คน |
ข้อมูลรวม | 1,601 ครัวเรือน | 1,735 คน | 1,868 คน | 3,603 คน |
สถานที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตั้งอยู่ บริเวณวัดบางภาษี ที่ทำการ เลขที่ 11 หมู่ที่ 11ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอบางเลน ห่างจากอำเภอบางเลน ประมาณ 10 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อพื้นที่ข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลบางเลน - ตำบลบางภาษี
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลบางระกำ
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลลำพญา
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลบางปลา
พื้นที่
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 40.26 ตารางกิโลเมตร หรือ 25,162 ไร่
ภูมิประเทศ
มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน จึงเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม
จำนวนประชากร
ประชากร รวมทั้งสิ้น 3,620 คน แยกเป็นชาย 1,749 คน หญิง 1,871 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 1,577 ครัวเรือน (ที่มาข้อมูลสถิติประชากรและบ้าน ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2564)
อาณาเขตติดต่อพื้นที่ข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลบางเลน - ตำบลบางภาษี
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลบางระกำ
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลลำพญา
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลบางปลา
พื้นที่
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 40.26 ตารางกิโลเมตร หรือ 25,162 ไร่
เขตการปกครอง
หมู่ที่ 1 บ้านใต้ปากคลองนกกระทุง
หมู่ที่ 2 บ้านปากคลองนกกระทุง
หมู่ที่ 3 บ้านแหลมไร่พัฒนา
หมู่ที่ 4 บ้านบางวัว
หมู่ที่ 5 บ้านบางวัว
หมู่ที่ 6 บ้านหน้าโรงเจ
หมู่ที่ 7 บ้านคลองนกกระทุง
หมู่ที่ 8 บ้านคลองนกกระทุง
หมู่ที่ 9 บ้านคลองบางภาษี
หมู่ที่ 10 บ้านคลองบางภาษี
หมู่ที่ 11 บ้านปากคลองบางภาษี
อุสาหกรรม/ธุรกิจ
โรงงานหล่อพระ 1 แห่ง
บริษัท IBA 1 แห่ง
พืชเศรษฐกิจ
ข้าว 7,012 ไร่
พืชผัก 275 ไร่
ผลไม้ 820 ไร่
พืชไร่ 80 ไร่
การพาณิชยกรรมและบริการ
มีปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
การศึกษา
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา (สังกัด ร.ร.สพฐ.) จำนวน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านคลองนกกระทุง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 8
และโรงเรียนวัดบางภาษี บุญเรือนบูรณะฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 11
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 ศูนย์ (สังกัดอบต. 1 ห้องเรียน) คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหาร ส่วนตำบลคลองนกกระทุง
ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 โดยนายฟัก ศรีชูเปี่ยม เป็นผู้บริจาคที่ดินก่อสร้าง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 11
- ศูนย์เรียนรู้สู่ชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง จำนวน 1 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ บ้านคลองนกกระทุง
หมู่ที่ 7
การนับถือศาสนา
ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 โดยมีศาสนสถานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ดังนี้
วัด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ (วัดบางภาษี) , จำนวนเมรุเผาศพ 1 แห่ง
ประเพณีและงานประจำปี
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุงมีงานประเพณีสำคัญ ประกอบด้วย งานประจำปีนมัสการหลวงพ่อบุญเรือนฯ
และการจัดงานประเพณีในวันสำคัญต่างๆ ได้ แก่วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา พิธีตักบาตรเทโวโรหนะ วันออกพรรษา เป็นต้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง มีดังนี้
1. นางรุ่งเรือง เพชรแอน หมอดิน (หมู่ที่ 4) ,นายนิมิตร ศรีแสงทรัพย์ หมอดิน (หมู่ที่ 9)
2. นางนกน้อย ศรีนวลมาก ,นางสมหมาย ศรีจิตแจ่ม ปราชญ์หมู่บ้าน (หมู่ที่ 7)
3. นางเพ็ญศรี ฉะอ้อนชม จักสานผักตบชวา (หมู่ที่ 8)
4. นายทองดี พรประสิทธิ์, นายมานิตย์ ศรีแพรศรี ช่างไม้ (หมู่ที่ 6)
5. นายนิลทร ศรีพลทัศน์ หมอกระดูก (หมู่ที่ 9) ,นายสมบุญ ทองเอี่ยม นวดแผนโบราณ (หมู่ที่ 9) ฯลฯ ๑๐ ๑๐ ภาษาถิ่น คือ ภาษากลาง
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- กระเป๋า ตระกร้า โคมไฟ ผลิตภัณฑ์จักสานจากผักตบชวา ฯลฯ
- ตระกร้าสานพลาสติก
การคมนาคม การจราจรถนน
ถนนลูกรัง/หินคลุก 21 สาย ประมาณการความยาว 40 ก.ม.
จำนวนถนนลาดยาง 9 สาย ประมาณการความยาว 8.5 ก.ม.
จำนวนถนนคอนกรีต 7 สาย ประมาณการความยาว 1.24 ก.ม.
สะพาน
สะพานคอนกรีต 7 แห่ง
สะพานไม้ 1 แห่ง
แหล่งน้ำ
แม่น้ำที่ไหลผ่าน 1 สาย
บ่อบาดาลสาธารณะ 18 บ่อ
การขนส่ง
การเดินทางเข้าพื้นที่โดยวิธี รถยนต์โดยสาร
การคมนาคม,สื่อสาร
มีสถานที่บริการอินเตอร์เนต 1 แห่ง
มีหอกระจายข่าวในพื้นที่ 11 แห่ง
ประปา
มีน้ำประปาใช้ จำนวน 931 ครัวเรือน น้ำประปาที่ผลิตได้ 1,792 ลบ.ม./วัน
- มีแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา 18 แห่ง
- มีน้ำดิบสำรองที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา 1 แห่ง
- หน่วยงานที่ผลิตน้ำประปาในพื้นที่
1. อบต.
2. หมู่บ้านหมู่ที่ 6
ไฟฟ้า
มีไฟฟ้าสาธารณ 264 ดวง
มีระบบไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์ จำนวน 1 ครัวเรือน